วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แนะนำร้านอาหารและของฝาก (Ho Chi Minhcity) : cheap-hotel-in-hochiminh-city

แนะนำร้านอาหารใน (Ho Chi Minhcity)
                     ร้านไหนาม (Hai Nam) ใน (Ho Chi Minhcity)
โด่งดังเรื่อง "ข้าวเกรียบปากหม้อ (Banh Cuon)" ซึ่งทั้งอร่อย สะอาดและถูกหลักอนามัย ตัวร้านตั้งอยู่ไม่ไกลจากกลางใจเมือง เปิดตั้งแต่เช้าถึงเย็น เหมาะสำหรับมื้อเช้าเบาๆ สังเกตหน้าร้านมีสาวเวียดนามละเลงแป้งใส่ไส้หมูสับกับกุ้ง แล้วบรรจงม้วนจัดใส่จานพร้อมผักสดน่ารับประทานข้าวเกรียบปากหม้อ 1 จาน มี 2 ชิ้น ราคา 12,000 ด่อง คิดเป็นเงินไทยประมาณ 15 บาทเท่านั้น รายละเอียดเพิ่มเติม ที่ตั้ง 11A Cao Thang แขวง 2(P.2) เขต 3(Q.3) โทร.839-3394
                      ร้านงือบิ่นห์ (Ngu Binh) ใน (Ho Chi Minhcity)
ร้านนี้ส่วนใหญ่ รู้จักกันเฉพาะในหมู่คนไทยที่มาทำงานในโฮจิมินห์ อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไป มีเมนูอาหารเพียง 7 อย่าง แต่อร่อยทุกอย่าง เช่น บั๋นแบ๋ว หรือขนมถ้วยหน้ากุ้งสับ, จ๋าหลั่ว หรือหมูยอ, บั๋นเอิ๊ดโตม หรือปากหม้ออย่างม้วนไส้กุ้ง เป็นต้น ราคาเริ่มต้นราว 10 บาท ต่อ 1 ชิ้น ร้านนี้เปิดตั้งแต่ 15.00 - 20.00 น.รายละเอียดเพิ่มเติม ที่ตั้ง 82 Cu Xa Nguyen Van Troi P.(แขวง) 17 Q.(เขต) Phu Nhuan โทร.844-7230
                     ร้าน Quan 94 (แปลว่าร้าน 94) ใน (Ho Chi Minhcity)
ถือเป็นร้านอาหารที่ มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในโฮจิมินห์ ตัวร้านตั้งอยู่ใจกลางเมือง เมนูเด็ดได้แก่ รายการอาหารที่เกี่ยวกับปู หรือมีปูเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น "จ๋าหย่อ หรือป่อเปี๊ยะทอดไส้ปู" (45,000 ด่อง), "ปูผัดวุ้นเส้น" (65,000 ด่อง), "ก้ามปูนึ่ง" 1 จานมี 4 - 5 ก้าม (70,000 ด่อง) , "ปูผัดซอสมะขาม ปูนิ่มทอด" (70,000 ด่อง)รายละเอียดเพิ่มเติม ที่ตั้ง 94 ถนนดินห์ เตี่ยน ฮวง (Dinh Tien Hoang) แขวง Dakao เขต 1 โทร.825-8633

ประวัติโฮจิมินห์ Ho Chi Minh : cheap-hotel-in-hochiminh-city

image

โฮจิมินห์ (เวียดนาม: Hồ Chí Minh, โฮจี๋มิญ) คือนักปฏิวัติชาวเวียดนาม ทำให้เวียดนามเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าชมประวัติศาสตร์มาก มีที่พักโรงแรม(Hotels in Ho Chi Minh city) เกิดขึ้น ซึ่งในภายหลังได้กลายมาเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (เวียดนามเหนือ) หลังจากสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม ไซ่ง่อน เมืองหลวงเก่าของเวียดนามใต้ ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นโฮจิมินห์ซิตี(Ho Chi Minh city) เพื่อเป็นเกียรติแก่โฮจิมินห์โฮจิมินห์เกิดเมื่อวันที่ โฮจิมินห์เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 1890/พ.ศ. 2433 ที่หมู่บ้านฮองตรู จังหวัดเงอัน ตอนบนของเวียดนาม เดิมชื่อเหงียนซินห์คุง (Nguyễn Sinh Cung)  (เพื่อความสะดวกในการเขียนบทความ ผมขอเรียกท่านผู้นี้ตามชื่อที่รู้จักในปัจจุบัน คือ "โฮจิมินห์"/"โฮ"/"ลุงโฮ" แม้จะเป็นชื่อที่ท่านนำมาใช้ในภายหลังก็ตาม)   บิดาคือ เหงียนซินซอค (Nguyễn Sinh Sắc)  โฮเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของครอบครัว  เหงียนซินซอค ผู้บิดาเป็นข้าราชการท้องถิ่นที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่นอกบ้าน  วันหนึ่งเมื่อโฮอายุ 11 ปี ขณะพ่อไม่อยู่บ้าน แม่ได้เสียชีวิตขณะให้กำเนิดบุตรชายคนที่ 3 ทำให้เขาต้องอยู่ในความดูแลของญาติๆ  โฮเริ่มต้อนการศึกษาตามประเพณีจีน คือเรียนหนังสือจีนและปรัชญาขงจื๊อ  เมื่อเป็นวัยรุ่นบิดาจึงได้ส่งเข้าเรียนโรงเรียนตามแบบฝรั่งเศส  แม้ว่าพ่อของโฮจะเป็นข้าราชการแต่ก็มักวิจารณ์การบ้านการเมืองประมาณว่าเป็น ไฉนเวียดนามจึงต้องเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศสได้ง่าย  อันทำให้พ่อต้องถูกพักงานไปในที่สุด  และต้องร่อนเร่ไปทำงานตามที่ต่างๆ ขณะที่โฮอยู่กับญาติๆ ที่เว้ นี่ก็เป็นปมในใจโฮอีกประการหนึ่งว่าพ่อต้องถูกลงโทษเพราะไปพูดในเรื่องที่ ใครๆ ก็รู้ว่าเป็นความจริง  ต่อมาในปี 1908/พ.ศ.2451โฮได้เข้าเรียนที่สถาบันแห่งชาติที่เมืองเว้ วันหนึ่งโฮได้ช่วยชาวนากลุ่มหนึ่งที่ประท้วงข้าราชการระดับสูงเขียนคำร้อง เป็นภาษาฝรั่งเศสเพื่อให้ข้าราชการฝรั่งเข้าใจ นั่นเป็นการปฏิวัติครั้งแรกที่ทำให้โฮต้องออกจากสถาบัน
             เมื่ออายุ 21 ปี  โฮจิมินห์เรียนพาณิชย์นาวีโดยการเป็นลูกมือในครัว และปี 1911/พ.ศ.2454 ก็ออกจากประเทศเวียดนามไปยังประเทศต่างๆ  โดยทีแรกก็เป็นลูกมือในครัวของเรือฝรั่งเศส  แต่ต่อมาก็ทำงานจิปาถะในประเทศต่างๆ  เช่น เป็นคนล้างจานในไชน่าทาวน์ในอเมริกา เป็นเชฟด้านขนมอบในลอนดอน เป็นนักหนังสือพิมพ์ในฝรั่งเศส เป็นต้น รายละเอียดอยากให้ชมจากภาพยนตร์สารคดีเอาเองหรือค้นคว้าเพิ่มเติมกันบ้างนะ ครับ  โดยสรุปในที่นี้คือช่วงที่ต้องระเหเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ นี้ ลุงโฮได้พบทั้งความกดขี่ของระบอบอาณานิคมในต่างแดน  ทั้งเสรีภาพของชนชั้นแรงงานในอเมริกาและเสรีภาพของชาวฝรั่งเศสที่มีมากกว่า คนเวียดนามที่ฝรั่งเศสปกครอง และได้พบกับกลุ่มต่อต้านจักรวรรดินิยม  ซึ่งก็เป็นปัญญาชนจากบรรดาเมืองขึ้นทั้งหลายของชาติตะวันตกนั้นเอง  บทบาทสำคัญประการหนึ่งในช่วงที่เขากลับมาฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 คือการเริ่มทำหนังสือพิมพ์ต่อต้านลัทธิเมืองขึ้น ใช้นามปากกาเหงียนอายควอก (Nguyễn Ái Quốc  เหงียนผู้รักชาติ) ในสารคดีบอกว่าช่วงนั้นลุงโฮเพียงแค่เรียกร้องสิทธิอันเท่าเทียมและการ ปฏิบัติที่ดีต่อชาวเวียดนาม ยังไม่ถึงขั้นจะปฏิวัติแต่ประการใด แม้กระนั้นยังไม่วายถูกหมายหัวจากผู้ปกครองในเวียดนามประมาณว่าถ้าอีตาเห งียนคนนี้กลับมาเวียดนามเมื่อไหร่ละก็ ... ฮึ่มๆ
             ปี 1919/พ.ศ. 2462 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เดินทางมาร่วมประชุมสันติภาพที่แวร์ซายส์พร้อมกับแผนสันติภาพ 14 ข้ออันลือชื่อ ซึ่งหลักใหญ่คือทุกชาติสมควรมีสิทธิในการตัดสินใจเอง  ซึ่งลุงโฮก็ปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่าท่านวิลสันคงสนับสนุนให้ยุติระบบเมืองขึ้น  จึงอุตส่าแต่งชุดสากลพร้อมหมวดทรงสูงซะโก้หรูเดินทางไปพบประธานาธิบดีวิ ลสันที่แวร์ซายส์เพื่อจะยื่นหนังสือแสดงรายละเอียดว่าฝรั่งเศสได้กดขี่ชาว เวียดนามมาขนาดไหน  แต่กลับถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าพบหรือแม้แต่ยื่นเอกสาร  ถึงตรงนี้ใจผมก็นึกไปถึงเรื่อง Lawrence After Arabia ที่ท่านลอเรนซ์กับเจ้าชายไฟซาลต้องมา "อกหัก" กับการเจรจาสันติภาพที่แวร์ซายส์นี้เช่นกัน  จะว่าท่านวิลสันไม่จริงใจก็ไม่เชิง  คล้ายกับว่าผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจมันย่อมมาก่อนเรื่องของชนชาติเล็กๆ ไม่ว่าสมัยไหนก็ตาม  อาการ "อกหักที่แวร์ซายส์" นี้ก็ไปเข้าทางให้บรรดาสหายเอียงซ้ายชักนำให้ลุงโฮหันไปหาระบอบคอมมิวนิสต์ ของโซเวียตเข้า  ปี 1920/พ.ศ. 2463 โฮกลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส  ต่อมาได้ไปมอสโคว์และร่วมคอมมินเทอร์นในปี 1923/พ.ศ. 2466 แล้วถูกส่งตัวไปยังกวางตุ้งทางตอนใต้ของจีนเพื่อช่วยก่อตั้งโครงงาน คอมมิวนิสต์  นับแต่นี้เองที่ลุงโฮเริ่มใช้ชีวิตที่ปกปิดยาวนานเกือบ 30 ปี โดยใช้ชื่อปลอมหลายชื่อ  ในปี 1927/พ.ศ. 2470 โฮเกือบถูกจับเมื่อเจียงไคเช็คกวาดล้างคอมมิวนิสต์  โฮรอดมาได้และหนีเข้ามาในสยามหรือประเทศไทยในปัจจุบันของเรานี้แหละครับ โดยปลอมเป็นพระภิกษุในจังหวัดนครพนมซึ่งมีชุมชนชาวเวียดนามอยู่  ทศวรรษ 1930 ไม่มีรายงานว่าพบลุงโฮอีกเลย บ้างมีรายงานว่าตายแล้วด้วยซ้ำ
            ลุงโฮปรากฏตัวอีกครั้งในราวสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อฝรั่งเศสยึดครองเยอรมัน ลุงโฮก็คิดว่าเป็นจังหวะดีที่จะได้ปลดปล่อยมาตุภูมิซะที  ในต้นปี 1941/พ.ศ. 2484 ลุงโฮได้ข้ามชายแดนจีนเข้ามาในเวียดนามเหนือ  และก่อตั้งขบวนการปลดปล่อยเวียดนามในชื่อว่า "เวียดมินห์" และเริ่มใช้ชื่อ "โฮจิมินห์" เป็นครั้งแรก ซึ่งแปลว่า "ผู้ให้แสงสว่าง"  แม้ว่าลุงโฮจะเคยมีชื่อเสียงในหมู่ปัญญาชนเวียดนามจากบทความที่เขียนในต่าง ประเทศแล้วถูกลักลอบนำเข้ามา  แต่คนส่วนใหญ่ของเวียดนามเป็นชาวชนบทที่ยังอ่านหนังสือไม่ออกกันเลยด้วยซ้ำ  ลุงโฮจึงต้องเข้าหามวลชนด้วยตนเอง  เข้าไปตีสนิทกับชาวบ้านเหมือนคนในครอบครัว  ซึ่งในสารคดีบอกว่ามันก็คือบทบาทของพ่อลุงโฮที่เป็นอดีตข้าราชการท้องถิ่น นั่นเอง  ในช่วงนี้ลุงโฮยังได้รวมองค์การชาตินิยมมากมายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ เวียดมินห์ รวมถึงได้ "โวเหงียนเกี๊ยบ" มาเป็นขุนพลคู่ใจในช่วงนี้ด้วย  ในการนี้ลุงโฮแกไม่เคยใช้คำว่า "คอมมิวนิสต์" หรือคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  โดยใช้ถ้อยคำง่ายๆ เช่น ความเท่าเทียม การปฏิบัติที่ดี ฯลฯ ซึ่งทุกคนยอมรับได้  เมื่อญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์และเข้ายึดดินแดนต่างๆ ในเอเชีย โฮเดินทางไปยังตอนใต้ของจีนเพื่อขอความช่วยเหลือจากจีนคณะชาติแต่กลับถูกจับ เพราะเป็นคอมมิวนิสต์และติดคุกอยู่ 14 เดือน   จนได้รับการปล่อยตัวเมื่อปี 1943/พ.ศ. 2486 ลุงโฮจึงได้เดินเท้ากลับมายยังเวียดนามเหนือท่ามกลางความประหลาดใจของเพื่อน ร่วมอุดมการณ์ที่คิดว่าลุงโฮคงตายไปแล้ว   เมื่อกลับมาลุงโฮได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลืออเมริกันโดยการนำนักบินที่ เครื่องบินถูกยิงตกกลับไปยังฐานทัพในจีน  ทำให้ได้รับความช่วยเหลือต่างๆ จากสหรัฐฯ   ตรงนี้ผมขอชี้ประเด็นนิดนึงว่า ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ เองก็ได้ช่วยเหลือ "คอมมิวนิสต์" ทั้งสหายสตาลินแห่งรัสเซีย ทั้งเหมาเจ๋อตุงในจีนพร้อมๆ กับเจียงไคเช็ค  แล้วยังจะลุงโฮในเวียดนาม  เพียงเพื่อให้ได้ชนะศึก  แล้วหลังจากนั้นก็มาต่อต้าน "คอมมิวนิสต์" อย่างเอาเป็นเอาตายในช่วงสงครามเย็น  แล้วเวลานี้ความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกันกับ "คอมมิวนิสต์" เหล่านี้เป็นอย่างไรล่ะครับ  การเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรจริงๆ
           ระหว่างร่วมงานกับอเมริกันในสงครามโลกครั้งที่ 2
ส.ค.1945/พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นยอมจำนนอันเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดช่องว่างในการปกครองเวียดนาม โฮจิมินห์กับโวเหงียนเกี๊ยบเข้าควบคุมเวียดนามเหนือ  โฮประกาศเอกราชที่ฮานอยในวันที่ 2 ก.ย.1945/พ.ศ. 2488 โดยใช้สุนทรพจน์ที่ดัดแปลงมาจากคำประกาศเอกราชของสหรัฐฯ แทนที่จะใช้คำพูดแบบเอียงซ้าย ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าโฮต้องการให้ความรู้สึกว่าการประกาศเอกราชของ เวียดนามก็ไม่ต่างจากที่สหรัฐอเมริกาประกาศตนเป็นเอกราชจากอังกฤษ  อันเป็นการขอความเห็นใจหรือรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน  ต่อมาโฮเดินทางไปเจรจาสันติภาพที่ปารีสเพื่อประนีประนอมกับฝรั่งเศส แต่กลับล้มเหลว  กองทัพฝรั่งเศสกลับมายังเวียดนามอีก  สถานการณ์ยังคงเลวร้าย  ไม่ว่าการปราบปรามที่รุนแรงหรือการส่งออกทรัพยากรจากเวียดนามไปยังฝรั่งเศส  โฮจิมินห์ขอให้สหรัฐฯ ช่วยแต่ไม่ได้รับคำตอบเพราะสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ กับโซเวียต ทำให้สหรัฐฯ ต้องการความร่วมมือของฝรั่งเศสในการปกป้องยุโรปแลกกับการไม่ไปยุ่งเมืองขึ้น ฝรั่งเศส ในที่สุดโฮจิมินห์กับโวเหวียนเกี๊ยบก็เข้าป่าไปจับอาวุธสู้กับฝรั่งเศสจนได้ ชัยชนะที่เดียนเบียนฟู ในเดือนมีนาคม 1954/พ.ศ. 2497 เรื่องการรบที่เดียนเบียนฟูนี้  ในสารคดีอธิบายว่าหลังจากสู้รบกับเวียดมินห์ในสงครามกองโจรมาจนเหนื่อยแล้ว  ฝรั่งเศสได้พยายามสร้าง "กับดัก" ให้เวียดมินห์เข้ามาติดกับและจบสงครามลง  แต่ผลสุดท้ายฝรั่งเศสกลับเป็นผู้ติดกับดักเสียเองแล้วสงครามก็จบลงในแบบตรง กันข้ามกับที่ฝรั่งเศสคาด  ฟังดูก็ช่างหาคำพูดมาถากถางฝรั่งเศสได้สะใจดี  แต่ไม่มีการอธิบายแผนการรบของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน  ทิ้งไว้เป็นการบ้านให้ผู้สนใจค้นคว้ากันต่อก็แล้วกันครับ  จากนั้นมีการเจรจาสันติภาพที่กรุงเจนีวา  ปรากฏว่าชัยชนะของเวียดมินห์ไม่ได้ทำให้อะไรราบรื่นเมื่อบรรยากาศทางการ เมืองระหว่างประเทศในช่วงสงครามเย็นทำให้โฮถูกจีนและโซเวียตบีบให้รับสัญญา สันติภาพที่แบ่งเวียดนามตรงเส้นขนานที่ 17 ไปก่อน  พร้อมกับคำสัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศ ที่เวียดมินห์น่าจะได้รับชัยชนะ  หลังการเจรจาสันติภาพ เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ โฮมุ่งมั่นสร้างรัฐสังคมนิยมตามแบบอย่างจีน  ซึ่งมีผลเสียอย่างร้ายแรงที่ทำให้เจ้าของที่ดินมากมายถูกประหารชีวิต และมีการคอร์รัปชั่นจนลุงโฮต้องออกมาขอโทษ  แต่นักวิจารณ์มองว่าคนก็ตายไปแล้วลุงเอ๋ย  มาขอโทษทีหลังมันจะมีประโยชน์อะไร  ทางเวียดนามใต้ สหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการโงดินเดียมและละเมิดสัญญาที่จะให้มีการ เลือกตั้งทั่วประเทศ  โงดินเดียมนั้นไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนมากนัก  มีการต่อต้านในรูปแบบสงครามกองโจรอย่างมาก  ยิ่งทำให้สหรัฐฯ เข้ามาแทรกแซงด้วยข้ออ้างว่าเพื่อสกัดกั้นคอมมิวนิสต์  จนเกิดสงครามระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ขึ้นในปี 1966/พ.ศ. 2509  ครั้งนี้แหละครับที่ลุงแซมมหามิตรของเราเที่ยวชวนบรรดาชาติพันธมิตรทั้งหลาย แหล่รวมทั้งพี่ไทยเราเองเข้าไปร่วมมหกรรมต่อต้านและสกัดกั้นคอมมิวนิสต์กัน เอิกเกริก  คนเอียงขวาหน่อยก็บอกว่ามันจำเป็นที่ไทยต้องเข้าร่วมสกัดกั้นคอมมิวนิสต์ รวมทั้งรักษาสถาบันหลักๆ  และเอกราชของชาติแบบรบในบ้านดีกว่ารบนอกบ้าน อะไรปานนั้น  ทางฝ่ายที่เอียงซ้ายก็บอกว่าเป็นการแทรกแซงเรื่องในบ้านเขาที่ต้องมีการรวม ชาติปลดแอกจักรวรรดินิยมอเมริกาต่อจากจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส อะไรไปนู่น  ไม่ว่าจะผิดถูกอย่างไรทหารไทยก็ได้สร้างวีรกรรมในสงครามเวียดนามไว้ไม่น้อย  ดังเช่นในบทความ"พันโททวี ปูรณโชติ ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำซุยคา" ของ "พันทิวา"  ที่ผมเคยนำเสนอไว้ พูดมากจะนอกเรื่องไปกันใหญ่  ย้อนกลับมาที่ลุงโฮ ณ เวลานั้นอายุอานามปาเข้าไปตั้ง 76 แล้ว  แทบไม่ได้มีส่วนอะไรในการบัญชาการรบ แล้วก็ต้องจบชีวิตลงก่อนในวันที่ 2 กันยายน 1969/พ.ศ. 2512 เมื่ออายุได้ 79 ปี  อีก 6 ปีต่อมาคือ 1975/พ.ศ.2518 เวียดนามเหนือจึงได้รับชัยชนะสามารถรวบรวมประเทศได้สมความปรารถนาซะที  แล้วจึงได้เปลี่ยชื่ออดีตเมืองหลวงของเวียดนามใต้จาก "ไซ่ง่อน" มาเป็น "โฮจิมินห์ซิตี้" เพื่อเป็นเกียรติแก่โฮจิมินห์
           หากจะมองว่าชีวประวัติของโฮจิมินห์กับการปลดปล่อยเวียดนามเป็นเรื่องที่แยก กันไม่ออกแล้ว  ภาพยนตร์สารคดีชีวประวัติโฮจิมินห์เรื่องนี้ได้ให้ความกระจ่างในเรื่องความ เป็นมาของสงครามเวียดนามเป็นอย่างดี  แม้กระนั้นก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่เราควรทราบเป็นข้อมูลเพิ่มเติมหรือ เป็นประเด็นสำหรับการค้นคว้าต่อไป ดังเช่น
บทบาทของบุคคลอื่นที่ เกี่ยวข้อง ทั้งในฝ่ายเดียวกันและฝ่ายตรงข้าม ในสารคดีได้กล่าวถึง โวเหงียนเกี๊ยบ เพียงเล็กน้อยในช่วงที่โฮเริ่มก่อตั้งขบวนการเวียดมินห์  ผมเคยได้ฟังนายทหารในสายวิชาการท่านหนึ่งกล่าวยกย่องโวเหงียนเกี๊ยบว่าเป็น ผู้ที่ศึกษายุทธวิธีของนโปเลียนจนแตกฉาน  คงต้องศึกษากันต่อไปว่าลุงโฮของเรามีทีเด็ดอะไรที่ทำให้คนระดับนี้ยอมรับ ได้  ภาพยนตร์ยังมิได้กล่าวถึง  บ๋าวได่ ผู้เป็นจักรพรรดิในรัฐบาลหุ่นเชิดของญี่ปุ่นที่คงจะคล้ายๆ กับจักรพรรดิปูยีในแมนจูเรีย  และโงดินเดียมก็โผล่ขึ้นมาแบบที่ไม่ค่อยมีปี่มีขลุ่ยเอาเลย ฯลฯ
           ข้อเท็จจริงบางประการที่น่าจะกล่าวถึงสักหน่อย  ได้แก่ การปกครองอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ได้แบ่งเวียดนามเป็น 3 ส่วน คือ ตังเกี๋ย (Tonkin) อันนัม (Annam) และโคชินจีน (Cochinchina) ส่วนการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของโฮจิมินห์นั้น คือ เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ระหว่าง พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) และเป็นประธานาธิบดี ระหว่าง พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) ประมาณว่าควบ 2 ตำแหน่งอยู่จนกระทั่งเสร็จศึกเดียนเบียนฟูและเวียดนามถูกแบ่งเป็นเหนือ-ใต้ แล้ว จึงเป็นประธานาธิบดีตำแหน่งเดียว ซึ่งเป็นประเด็นที่เราควรได้รู้มากกว่าความเข้าใจคลุมๆ ว่าลุงโฮเป็นผู้นำของเวียดนามเหนือเท่านั้น
"คอมมูนิสต์" หรือ "คอมมูหน่อย" สารคดีชุดนี้กล่าวไว้ในหลายที่ว่า  ที่จริงแล้วโฮจิมินห์ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ หรือมีความเป็นคอมมิวนิสต์น้อยกว่าผู้นำในค่ายนี้หลายๆ คน  ดังในช่วงที่โฮเดินทางไปรัสเซียนั้นเขาน่าจะมีเวลาเรียนรู้ลัทธิคอมมิวนิสต์ (คงแบบที่ฝ่ายขวาบ้านเราเรียกว่าโดน "ล้างสมอง"?) น้อยมาก   อีกตอนหนึ่งที่กล่าวเพียงว่ามี "ประจักษ์พยานมากมาย" ว่าเขาไม่ใช่  ตัวผมซึ่งพึ่งจะเริ่มศึกษาเรื่องลุงโฮก็ได้แต่รับฟังไว้ ที่น่าสนใจคือการที่ลุงโฮเคยพยายามพึ่งฝ่ายเสรีนิยมมาก่อนแล้วต้อง "อกหัก" จนต้องหันไปพึ่งคอมมิวนิสต์ก็คงคล้ายฝ่ายซ้ายหลายคนในบ้านเราที่ถูกผลักไป อยู่ทางนั้นเพราะทางขวามันก็เผด็จการซะเกิน  ใครคิดอะไรต่างกันไม่ได้  ดูตามสารคดีประเด็นที่น่าจะพิสูจน์ความซ้ายไม่จัดของลุงโฮน่าจะกรณีที่ลุงแก สร้างเครือข่ายกับชาวบ้านในชนบทโดยไม่ใช่ศัพท์ที่เกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ ไปจนถึงคำประกาศอิสรภาพที่เหมือนกับลอกมาจากอเมริกา  บ่งว่าลุงแกเน้นการสื่อสารที่ทุกคนทุกฝ่ายยอมรับและเข้าใจได้ง่าย  ผิดกับพวกแดงเมืองสารขัณฑ์ที่พล่ามแต่คำว่า "อำมาตย์" ซึ่งไม่มีใครใช้คำนี้ในทางลบมาก่อน และไม่มีใครทราบชัดว่าเจตนาจะเลี่ยงคำว่า "ศักดินา" หรืออย่างไร  หมายถึงคนกลุ่มไหนหรือใครกันแน่  เอาล่ะ แม้ลุงโฮเองจะไม่ใช่ซ้ายจัด  แต่บรรดาคนที่อยู่รอบตัวและเครือข่ายของลุงแกล่ะครับ  ในสารคดีพูดถึงปัญหาความเลวร้ายของการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ในเวียดนามเหนือ บ้างเล็กน้อย  พร้อมกับอ้อมแอ้มว่าลุงโฮจะต้องรับผิดชอบแค่ไหนนี่ยังไม่ชัด  สำหรับคนไทยเราเองที่อายุราวๆ หลักสี่ขึ้นคงจำกันได้ว่าช่วงหนึ่งเวียดนามเคยเป็น "ศัตรู" ที่อาจเข้ามารุกรานเราผ่านลาวและเขมรได้ทุกเมื่อ  จนกระทั่งเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย  จีนหันมาเปิดประเทศมากขึ้น และเวียดนาม ลาว เขมร ยกขบวนกันมาเข้าร่วมอาเซียนกับเรานั่นแหละ  ปัญหาถึงได้ยุติลง
ภาพ ที่ไม่ค่อยได้เห็น พูดเรื่องประวัติศาสตร์การบ้านการเมืองในอดีตมาค่อนข้างมาก  ขอลงท้ายกันเบาๆ ด้วยความชื่นชมว่าสารคดีชุดนี้เป็นสารคดีอีกเรื่องที่เราจะได้เห็นภาพเก่า ต่างๆ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่ทรงคุณค่า  นับตั้งแต่เวียดนามยุคอาณานิคม เรื่อยมาจนถึงภาพสงครามระหว่างเวียดนามกับฝรั่งเศสและเวียดนามกับสหรัฐฯ รวมถึงเมืองไทยเราเองยุคที่ลุงโฮหนีเจียงไคเช็คเข้ามาก็มีภาพรำไทยและภาพ ชนบทไทยให้เห็นในเรื่องนี้อยู่ช่วงหนึ่ง  ภาพของลุงโฮเองมีตั้งแต่ตอนยังหนุ่มๆ ไปจนถึงวัยสุดท้าย  และบางภาพเราอาจจะไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าลุงโฮจะมีภาพการสอนวิชากังฟู  เล่นวอลเล่ย์บอล  สูบบุหรี่อเมริกัน เต้นรำอย่างสนุกสนาน และภาพเด็กๆ กลุ่มใหญ่วิ่งเข้าลุงโฮ ฯลฯ นับว่าสารคดีชุดนี้มีค่าควรที่ผู้สนใจสงครามเวียดนามจะได้เสาะหามาชมไว้เป็น ความรู้ประกอบครับ